เกี่ยวกับโครงการ
- Home
- เกี่ยวกับโครงการ
ประวัติความเป็นมา
โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่เชื่อมโยง ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่เชื่อมโยง เป็นการผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ร่วมกับการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยทำการวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ความต้องการและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวของกลุ่มตลาดเป้าหมายภายในประเทศและต่างประเทศ และพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยว เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชนและเชิงเกษตรเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ ได้แก่ สวนผลไม้ต่าง ๆ เช่น สวนมะม่วง สวนส้มโอ สวนมะปรางหวาน-มะยงชิด สวนลิ้นจี่ สวนทุเรียน ไร่สตรอเบอรี่ สวนมะขามหวาน สวนอะโวคาโด แปลงผักไฮโดรโปรนิกส์ ฯลฯ ประกอบกับมีภูเขาสูง อากาศเย็น มีทิวทัศน์ที่สวยงามและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางต่อไปยังพื้นที่เชื่อมโยงจากจังหวัดเพชรบูรณ์ผ่านจังหวัดลพบุรีไปยังจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องผลไม้และสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตรและนิเวศน์อย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาและป่าเป็นแนวยาวกั้นเขตแดน คือ ทิวเขาดงพญาเย็น (เขาใหญ่) และทิวเขาดงรัก ทำให้เหมาะกับการท่องเที่ยวพักผ่อน ดังนั้น หากมีการผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเกษตร เชิงธรรมชาติ เชิงอนุรักษ์ และเชิงสร้างสรรค์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีภายในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่เชื่อมโยง ร่วมกับการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Tourism โดยชุมชนหรือธุรกิจท่องเที่ยวคำนึงถึงปัจจัยหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากิจกรรมในชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด โดยอยู่บนฐานของการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สร้างประโยชน์สูงสุด มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว สร้างโอกาสและการต่อ
ยอดให้กับผู้ประกอบการและชุมชน ได้เจอนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน กระจายรายได้ทุกภาคส่วน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่เชื่อมโยง
วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรม
นักท่องเที่ยวของกลุ่มตลาดเป้าหมายภาย
ในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่เชื่อมโยง
ไปสู่การทำตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
คณะวิจัย
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้เข้าร่วมโครงการ
นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น
บริษัท เทรคกิ้งไทย จำกัด
รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.นุชนาฏ ภักดี
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์
ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
รองศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีประดิษฐ์
ภาควิชาศิลปการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รองศาสตราจารย์ ดร.กณิตา ธนเจริญชณภาส
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี กระจายกลาง
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.สุพัฒน์ พลซา
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.กัลย์กนิต พิสมยรมย์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ พุ่มพวง
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม